Friday, March 29, 2024
Home > สุขภาพจิตคืออะไรเรามีคำตอบ > สภาพแวดล้อมปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อ “สุขภาพจิตใจ”

สภาพแวดล้อมปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อ “สุขภาพจิตใจ”

Banner-photo

ปัจจุบันนี้เราจะพบว่าคนไทยหรือจะเรียกว่าคนทั่วโลกก็ว่าได้ที่กำลังเข้าสู่ภาวะของ “โรคเครียด” และ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งทั้งสองโรคนี้เกิดจากสภาวะของสุขภาพจิตที่เริ่มมีปัญหา และทำให้สุขภาพร่างกายให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมาแทบไม่น่าเชื่อว่าอารมณ์ความเครียดจะมีอิทธิผลร้ายแรง ยิ่งหากเกิดความเครียดชนิดแบบยาวนานและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จะส่งผลต่อความสัมพันธ์กับโรคต่างๆ ทั้งเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, แผลในกระเพาะอาหาร, เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดถึงร้อยละ 40 เป็นต้น

Mental-health

ซึ่งปัญหาที่ทำให้เกิดโรคเครียดนั่น มาจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของสังคมไทยที่มีทั้งผลดีและผลเสีย ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มเจริญเติบโตมากขึ้นทำให้คนไทยมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม แต่ก็ต้องแลกมากับการที่พ่อแม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อไปทำมาหากินในเมืองซึ่งมีรายได้ดีกว่า ปล่อยลูกหลานให้อยู่กับปู่ย่าตายาย นอกจากนั้นยังเกิดจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมโรงงานต่าง โดยไม่สนใจว่าจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ สังคมเข้าสู่ยุคแห่งการแก่งแย่งแข่งขัน ผู้คนเริ่มมีน้ำใจให้กันน้อยลง ชีวิตในแต่ละวันต้องเร่งรีบตลอดเวลา และสิ่งสำคัญที่สุดคือผลกระทบจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเพื่อน เพื่อนร่วมงาน เหตุผลทั้งหมดนี้จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนเกิดความเครียดง่ายขึ้น

ดังนั้นการที่จะทราบว่าตัวเองเข้าสู่ภาวะโรคเครียดแล้วหรือยัง?? ให้หมั่นสังเกตดูความผิดปกติของร่างกาย ว่าเริ่มมีอาการปวดตึงศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว จิตใจว้าวุ่น กระสับกระส่าย ไม่สงบนิ่ง เกิดอารมณ์เสียบ่อย รู้สึกหงุดหงิดง่ายหากเมื่อมีอะไรเข้ามากระทบ มองโลกในแง่ร้าย คาดหวังกับผลตอบแทนที่คิดว่าจะได้รับ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย และนอนไม่หลับ ฯลฯ อาการเหล่านี้คือตัวบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคเครียดชนิดเริ่มต้น

เมื่อทราบว่าตัวเองกำลังประสบปัญหาเป็นโรคเครียด ก็ต้องพยายามหาทางผ่อนคลาย เมื่อรู้ว่าแก้ปัญหาไม่ได้ให้ถอยออกมาก่อน ส่วนเทคนิคง่ายที่สามารถทำได้ เช่น การออกกำลังกาย (เดินเร็ว, วิ่งอยู่กับที่, ยืดร่างกาย, เต้าแอโรบิค) การฝึกหัดหายใจ หรือจะหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ

อย่างไรก็ตามยังรวมถึงการเลือกสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะสมกับตัวเอง หรือปรับเปลี่ยนให้บรรยากาศรอบๆดูผ่อนคลายลง เป็นมิตร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หาแนวทางการสื่อสารกันในเชิงบวก เลือกทำงานที่เหมาะสมกับตัวเอง วางแผนงานหรือการแบ่งงานให้พอดี ล้วนแล้วแต่ที่จะสามารถช่วยป้องกันหรือส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน